วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สงครามโลก..........

ประเทศในฝ่ายพันธมิตรแสดงในสีเขียว และฝ่ายอักษะแสดงในสีส้ม
สมรภูมิทางตะวันออก
           
             สมรภูมิทางตะวันออก ซึ่งรับผิดชอบโดยญี่ปุ่นเป็นด้านหลัก โดยมีชื่อเรียกยังสามารถแยกเป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ

  • สมรภูมิในจีน ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่2
อย่างเป็นทางการ โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่
รวมถึงการจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยีเป็นประมุข และได้ทำการยึดครองกรุง
หนานจิง(นานกิง)ที่เป็นเมืองหลวงของจีน(ของรัฐบาลก๊กมินตั่งในยุคนั้น) และได้ทำการ
สังหารหมู่ชาวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสใน
เมืองนานกิงยังรับไม่ได้ ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่าง
พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำและพรรคก๊กมินตั๋น(ประชาธิปไตย)ที่มีเจียง
ไคเช็กเป็นผู้นำ หลังจากเกิดกรณีซีอันขึ้น ทั้งที่ 2 พรรคนี้เคยเป็นศัตรูกันมาก่อนโดยพรรค
คอมมิวนิสต์ได้ทำการสู้รบและดำเนินการ"สงครามกองโจร" ที่กลายเป็นแบบอย่างของ
สงครามกองโจรยุคใหม่ขึ้นโดยมีฐานที่มั่นหลักอยู่ที่เยนอาน ตามเขตตอนเหนือและ
แมนจูเรียส่วนพรรคก๊กมินตั๋นได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ฉ่งชิ่ง(จุงกิง)และได้รับการสนับสนุน
จากสัมพันธมิตรที่อยู่ในอินเดีย แต่ว่ามีการถกเถียงกันระหว่างบทบาทของพรรคก๊กมินตั๋นและ
พรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเรื่องบทบาทความสำเร็จและความเอาการเอางานในการต่อต้านญี่ปุ่นของ
อีกฝ่ายหนึ่ง แต่ที่แน่ชัดคือ นายพลสติเวลล์ ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปดูแลกองทัพ
ของพรรคก๊กมินตั๋นรู้สึกโกรธมากที่ภายในพรคก๊กมินตั๋นไม่มีประสิทธิภาพ และมุ่งการปราบ
คอมมิวนิสต์มากกว่าการรบกับญี่ปุ่น ในขณะที่เอดการ์ สโนว์ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของเหมา
เจ๋อตงอย่างมากในการต่อต้านญี่ปุ่น และทางกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะปฏิบัติการดิกซีเข้าไป
ร่วมทำงานกับเหมาเจ๋อตุง แต่นักหนังสือพิมพ์จากสหภาพโซเวียตที่ได้เข้าไปทำข่าวในห้วงเวลา
เดียวกันกลับวิจารณ์ เหมาเจ๋อตงว่าไม่เคร่งครัดในลัทธิคอมมิวนิสต์และหย่อนยานในการสู้รบ ทำให้
ไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ การรบชนะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียนั้น ยิ่งทำ
ให้ชาติญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการทหารของตนเอง ทำการรุกรานประเทศอื่นๆอย่างไม่เกรงกลัว และ
ยังประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาโดยการส่งเครื่องบินไประเบิดเรือมิสซูรีที่อ่าวเพิร์ล เป็นชนวน
จุดระเบิดสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคเอเชีย

  • สมรภูมิในแปซิฟิคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถ้าไม่นับรวมการเข้ายึดครองอินโดจีน
ของฝรั่งเศส ที่ถูกบังคับให้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะภายใต้รัฐบาลวิชีแล้ว สมรภูมิด้านนี้ได้
เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์
และการบุกยึดประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ.
1941 ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า นิวกินี และเกาะกัวดาคาแนล ซึ่งปรากฏว่าหลังจาก
สมรภูมิที่มิดเวย์ การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กัว
ดาคาแนลแล้ว ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก ส่วนกองทัพบกก็ไม่
สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอเพื่อปกป้องดินแดนที่ยึดได้ใหม่ ในที่สุดจึง
ถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความ
พ่ายแพ้ในที่สุด
สมรภูมิทางตะวันตก
        สมรภูมิทางตะวันตก ซึ่งมีเยอรมนีเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยยังสามารถแยกย่อยให้เป็นกลุ่มย่อย
ได้อีกคือ
  • สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก ได้แก่ ในฝรั่งเศส ประเทศต่ำ(เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และ
ลักเซมเบอร์ก)และในสแกนดิเนเวีย ซึ่งเยอรมนีประสบความสำเร็จในการยึดครอง และการ
ยุทธแห่งเกาะบริเตนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของฮิตเลอร์ที่
หันไปให้ความสำคัญกับยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ซึ่งเป็นแนวรบที่เยอรมนีได้ทำการโจมตี
หลังจากได้เข้ายึดครองประเทศโปแลนด์แล้ว และได้กลายเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามอีก
ครั้งหลังจากการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส และการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีของ
กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตามปฏิบัติการแอนซิโอ

  • สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก ได้แก่ ในโปแลนด์ กรีซ (บางส่วน ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย และ
สหภาพโซเวียต ซึ่งถ้าไม่นับรวมโปแลนด์แล้ว ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญการรุกรานจาก
เยอรมนีหลังจากสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก ซึ่งเยอรมนีได้บุกเข้าไปจนกินเนื้อที่จำนวน
มาก แต่ทว่าก็ไม่อาจเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมินี้อย่างถาวร เนื่องจากแนวรบที่
กว้างขวางตั้งแต่ทะเลบอลติก (เลนินกราดหรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) จนถึงลุ่มแม่น้ำวอลก้า
(สตาลินกราด) และแหลมไครเมีย สภาพอากาศที่โหดร้าย และการตอบโต้อย่างหนักจาก
สหภาพโซเวียต จนทำให้โดนฝ่ายสหภาพโซเวียตตีโต้กลับไปจนถึงกรุงเบอร์ลินในที่สุด

  • สมรภูมิริมขอบของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ในไซปรัส กรีซ (บางส่วน) ลิเบีย และ
อียิปต์ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เคยอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษมาก่อน แต่ว่าอิตาลีและเยอรมนีต้องการ
จึงได้เกิดสมรภูมิทะเลทรายอันลือลั่นขึ้น ในตอนแรกนั้น ฝ่ายอิตาลีไม่สามารถเอาชนะ
อังกฤษได้ แต่ว่าต่อมาฮิตเลอร์ได้ส่งจอมทัพเออร์วิน รอมเมลอันโด่งดังและกองกำลัง Afrika
Korp เข้ามาทำให้สถานการณ์ของฝ่ายอักษะกลายเป็นฝ่ายรุก แต่ในที่สุด เนื่องด้วยฝ่าย
อักษะไม่สามารถส่งกำลังบำรุงและทหารมาประจำการในสมรภูมิทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้
มาก เนื่องจากติดพันอยู่กับสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก และฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการ
ฐานสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์
ด้วยความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงได้เกิดปฏิบัติการทอร์ชขึ้น และสามารถขับไล่ฝ่าย
อักษะออกจากแอฟริกาเหนือได้

สมรภูมิรบ

          สมรภูมิรบในสงครามโลกครั้งที่2นั้นเกิดขึ้นหลายแห่งในโลก โดยตามแผนเดิมของฝ่ายอักษะนั้น ต้องการที่จะบุกมาบรรจบกันที่อิหร่าน ซึ่งสามารถจำแนกสมรภูมิเป็นกลุ่มใหญ่ได้2กลุ่ม คือ



ปฏิวัติอุตสาหกรรม


โรงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงใน

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สงครามโลก 1

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เป็นความขัดแย้งระดับโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) ถึง พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งไม่เคยปรากฏสงครามขนาดใหญ่ที่มีทหารหรือสมรภูมิเกี่ยวข้องมากขนาดนี้มาก่อน
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของทวีปยุโรป โดยเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป การสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)
สงครามโลกครั้งที่1
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามความขัดแย้งบนฐานการล่าอาณานิคม ระหว่างมหาอำนาจยุโรปสองค่าย คือ ฝ่ายไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ซึ่งประกอบไปด้วยเยอรมนี  และอิตาลี กับฝ่าย (Triple Entente) ประกอบไปด้วยบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศสและรัสเซีย เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 1918
ประวัติ
ในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้างจักรวรรดินิยมเยอรมัน เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศจักรวรรดิเยอรมันแล้วจึงดำเนินการตั้ง The Three Emperor's League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตรระหว่าง เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรกคือ ป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังเมื่อออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้ บิสมาร์คจึงชักชวนอิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิด Triple Alliance ขึ้น
ครั้งบิสมาร์คหมดอำนาจลง จักรพรรดิเยอรมัน (Kaiser Wilhelm II) ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลดินแดนตะวันออก ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและเข้าใจอันดีกับอังกฤษ และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันได้แล้ว จึงจัดตั้ง Triple Entente ในปี ค.ศ. 1907
จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เมื่อ อาร์คดยุคฟรานซิส เฟอร์ดินัลด์ (Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย โดยนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ กาวริลโล ปรินซิป (Gavrilo Princip)รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจึงตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมนี จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศ
สงครามกับเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้ เยอรมนีจึงได้เรียกร้องมิให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง ครั้นสองมหาอำนาจไม่ปฏิบัติตาม เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ตามลำดับหลังจากเยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศสแล้ว ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าละเมิดความเป็นกลางของประเทศเบลเยียมเพื่อขอเป็นทางผ่านในการบุกฝรั่งเศส อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจของโลกจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 มหาอำนาจในยุโรปจึงเข้าสู่สงคราม ยกเว้นอิตาลีที่เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1915 ฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย-อังการี อิตาลีได้ตุรกีและบัลแกเรียเป็นพันธมิตร ตุรกีเข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย บัลแกเรียเข้าผนวกโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ ซึ่งต่อมาถูกเรียกโดยรวมว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายพันธ-มิตร (the Allies)ได้ประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น แต่ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียได้ถอนตัวออกจากสงครามครั้งนี้ เนื่องจากเลนินผู้นำกลุ่มบอลเชวิคส์ทำการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นในรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาแทนที่รัสเซีย หลังจากเยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีขอบเขต สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 โดยส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปจำนวน 1200 คน
ในช่วงแรกของสงคราม มหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ 5 ล้านคน ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบและสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นต์สัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน 4 ปี 5 เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อ้อมอ้อม

อ้อม  ดวงกมล  มีเทศ   ศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี    RMUTT   (TCF)
                                             
                                                    การรอเป็นสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดในตอนนี้